ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย อาการที่เกิดขึ้นได้ในคนท้อง ไม่อันตรายแต่ไม่ควรมองข้าม

ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย

ในช่วงเริ่มต้น ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะมดลูกกำลังขยายตัวเพื่อรองรับเจ้าตัวน้อย ซึ่งเขากำลังเจริญเติบโตนั้นเอง ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แม่ ๆ หลายคนอดกังวลไม่ได้ แต่หากมีอาการรุนแรงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ ฉะนั้นการที่คุณแม่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการดังกล่าว จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติ เพื่อที่จะได้ไปพบแพทย์ได้ทันเวลา

ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย อาการนี้มีหลายสาเหตุ

อาการปวดท้องน้อย มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน มีทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง ซึ่งเพื่อคลายความกังวลนี้ เมื่อคุณแม่พบว่า ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย จะต้องศึกษาในหลายๆ ด้าน โดยอาการดังกล่าวเกิดจากอะไรกันบ้างไปดูกันเลย

ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย

1) แน่นท้องร่วมกับปวดท้อง จุกเสียดกลางอก

                อาการปวดท้องคนท้อง1เดือน ร่วมกับจุกเสียดไม่ได้มีอันตรายมาก เพราะเกิดจากการกินอาหารของคุณแม่ที่มีรสจัด เปรี้ยว ของทอด โดยเรียกว่าเป็นกรดไหลย้อนหรือกระเพาะอาหารอักเสบ สาเหตุหลีกมาจากกรดในกระเพาะอาหารมาก อาหารไม่ย่อย เหล่านี้จะทำให้รู้สึกแน่นท้องหลังจากที่รับประทานอาหารเข้าไปและมักเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน นอกนี้ทารกในท้องโตขึ้น

                วิธีลดอาการและป้องกัน : ทานน้อย ๆ แบ่งมื้อทานจาก 3 มื้อ เป็น 5 มื้อ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่พอเหมาะและเลี่ยงอาหารรสเผ็ด เปรี้ยว ของทอด ที่สำคัญหลังทานเสร็จไม่ควรนอนราบทันที นั่งหลังตรง ๆ หรือเดินสักพัก รวมไปถึงการงดดื่มน้ำตามหลัง ตลอดจนการนอนในท่ากึงนั่ง ให้หมอนสูงขึ้นเล็กน้อย ทำแบบนี้จะช่วยป้องกันกรดไหลย้อน

                ควรพบแพทย์ : อาการจุกเสียดแน่นท้องเกิดขึ้นในคนท้องและสามารถหายได้ แต่หากคุณแม่มีอาการรุนแรง จุกแน่น เจ็บหน้าอกหายใจไม่ออกและปวดหัวร่วมด้วย ไม่หายสักที แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์ เพราะจะนำไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษได้

2) อาการเจ็บท้องเตือน

               ช่วงตั้งท้อง 1 เดือน อาจจะไม่ค่อยมีโอกาสได้มากเท่าคุณแม่ที่ท้องไตรมาสที่ 2 โดยมีอาการปวดท้องเจ็บท้องเตือน มีลักษณะชัดเจนเมื่อสัมผัสท้องมีความรู้สึกแข็ง บวกกับเมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ปวดท้องน้อย นาน ๆ ครั้ง หากไม่สม่ำเสมอ ปวดแล้วก็หายนั้นคืออาการไม่รุนแรง หากพูดถึงสาหตุของอาการเจ็บท้องเตือน คือคุณแม่ใกล้คลอด เนื่องด้วยมดลูกขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนตัวลงต่ำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะรู้สึกว่ามดลูกแข็งและท้องแข็งบ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้ในกรณีที่คุณแม่เดินนาน ๆ หรือยืนนานๆ นั้นเอง

วิธีลดอาการและป้องกัน :  เพื่อลดอาการดังกล่าวคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามเป็นเวลานาน ๆเพราะในช่วงที่คุณกำลังเปลี่ยนท่าอาจทำให้กล้ามเนื้อตึงตัว หากมีอาการปวดท้องท้องแข็งควรนั่งพักหรือนอนให้อาการดีขึ้นก่อน

ควรพบแพทย์ : หากพบว่านอกจากฉี่บ่อยแล้ว มีอาการท้องแข็งถี่ขึ้นร่วมด้วยกับมีน้ำเดิน มูกเลือดควรรีบปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด เพราะนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอด

3) หากมีอาการปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง  มีไข้ร่วมด้วย ควรพบแพทย์

ปวดท้องช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน

อยากให้ลองสังเกตอาการปวดเกร็งท้องและมีเลือดออกทางช่องคลอด แนะนำเลยว่าให้ระวังเพราะนั้นเป็นสัญญาณของการแท้ง โดยจะรู้สึกปวดด้านใดด้านหนึ่งขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดตลอด หากมีไข้ร่วมด้วยควรไปพบแพทย์ทันที ไม่เพียงเท่านี้อาจมีก้อนซีสต์ที่รังไข่ ไส้ติ่งอักเสบ รวมทั้งไปถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก

                ปวดท้องช่วงอายุครรภ์ 6-8 เดือน

ช่วงเวลานี้หากสังเกตแล้วพบว่ามีอาการปวดท้องบริเวณหัวหน่าวหรืออุ้งเชิงกราน บวกกับคุณแม่ มีภาวะมดลูกต่ำเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำคร่ำแตกได้ง่าย นำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด

                นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ถึงต้นไตรมาสที่ 3 ก็ตาม กลับยังมีเลือดไหลออกมาจากทางช่องคลอด และปวดท้องน้อย เจ็บแปลบร่วมกับท้องแข็ง หรือแม้กระทั่งในคนที่มีเลือดแต่ไม่มีอาการปวดก็ตาม ไม่ควรละเลย ควรรีบไปพบแพทย์

ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย

ปวดท้องสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ

ในช่วงที่คุณแม่ปวดท้องน้อย หรือเกิดภาวะมากมายและติดเชื้อต่าง ๆ มักจะเป็นในระบบทางเดินอาหารหรืออาหารเป็นพิษ ฉะนั้นควรทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาดและไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักจะมีอาการปวดท้องมากร่วมกับอาเจียน  ท้องเสีย นอกจากนี้อาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

                จากสาเหตุทั้งหมด เมื่อคุณแม่มีอาการตามที่กล่าวมาหรือสงสัย ควรรีบปรึกษาแพทย์และไปพบให้ไวที่สุด เพราะหากปล่อยไวอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างแน่นอน รวมถึงตัวคุณแม่เองอาจตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน

4) ปวดท้องใกล้คลอด

                เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาฉุกเฉินและไม่ใช่แค่คุณแม่เท่านั้นที่กังวล ทุกคนในครอบครัวต่างตื่นเต้นกับวินาทีสำคัญนี้ เพราะอีกไม่นานเจ้าตัวน้อยจะออกมาพบโลกกว้าง ฉะนั้นหากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องจริงหรืออาการปวดท้องพร้อมน้ำเดิน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นคือสัญญาณที่ลูกน้อยพร้อมแล้วกับการคลอด โดยอาการดังกล่าวมีปัจจัยดังนี้

  • หากคุณแม่อุ้มท้องมาจนถึง 37 สัปดาห์เป็นช่วงที่มีโอกาสคลอดได้ แต่หากมีอาการเร็วกว่านั้นจะหมายถึงกรการคลอดก่อนกำหนด
  • หากคุณแม่สังเกตแล้วว่าตัวเองนั้นปวดท้อง ท้องแข็ง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากมดลูกบีบและแข็งตัว โดยอาการทั้งหมดเกิดขึ้นสม่ำเสมอ พร้อมกับปวดฉี่ถี่ ๆ ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • เริ่มมีอาการปวดหลังลามถึงท้องและหัวหน่าว ซึ่งบางคนให้ความรู้สึกนี้ว่าเหมือนการปวดถ่ายอุจจาระ
  • เริ่มมีมูกเลือดแดงสดและมีน้ำเดิน เป็นสัญญาณว่าถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว  

สรุป

เชื่อว่าสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องแล้ว ทุกช่วงของการอุ้มท้องล้วนเต็มไปด้วยความรู้สึกกังวล ตื่นเต้น แม้ว่าจะท้องมาแล้วกี่คนก็ตาม เพราะทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ซึ่งก็ไม่มีใครคาดการณ์ได้ ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อย โดยเฉพาะช่วงที่มี อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ดีว่า ลูกน้อยอาจมีปัญหา อย่างไรก็ตามการศึกษาข้อมูลไว้ จะทำให้คุณสบายใจขึ้น เพราะในบางครั้งอาการไม่ได้รุนแรง เป็นเรื่องปกติ แต่หากพบว่ามีอาการปวดท้องรุนแรง หรือมีเลือดออก ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อที่จะให้วินิจฉัยและทำการรักษาได้ทันท่วงที ufabet

https://th.theasianparent.com/abdominal-pain-during-pregnancy