การเก็บรักษานมแม่ อย่างถูกวิธี สามารถส่งสารอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

การเก็บรักษานมแม่

การเก็บรักษานมแม่ อย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งที่คนเป็นแม่ควรเรียนรู้เอาไว้ เพราะจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากเมื่อมีเหตุจำเป็น ที่จะต้องสต๊อกนม เพื่อเป็นการรักษาสารอาหารที่สำคัญ ตลอดจนยังคงไว้ซึ่งประโยชน์อย่างครบถ้วนให้กับลูกน้อยของคุณ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งบรรดาคุณแม่ในอดีตนั้นไม่จำเป็นต้องไปทำงานนอกบ้าน หรือมีธุระอื่นมากนักนอกจากการเลี้ยงดูบุตรและทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงนิยมให้ลูกดื่มนมแม่ตลอดระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่คลอด

ซึ่งนอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูบุตรแล้ว ยังถือเป็นการให้สารอาหารที่สำคัญ ในการเจริญเติบโต ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสู่ร่างกายของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเทียบกับวิถีชีวิตของคุณแม่หลากหลายวัยในปัจจุบันต่างมีไลฟ์สไตล์การเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน บางท่านอาจจะดูแลลูกแบบ full time หรือบางท่านอาจจะแบ่งเวลาจากการเลี้ยงลูก เพื่อไปทำงานหรือดูแลธุรกิจส่วนตัวในด้านอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งการเก็บรักษานมแม่ ไว้ให้เจ้าตัวน้อยดื่มกินนั้น ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะไม่ต้องดิ้นรนไปหาซื้อนมผงให้สิ้นเปลืองเปล่า ๆ และการเก็บรักษาอย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้คุณประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีในน้ำนมอยู่อย่างครบถ้วนและส่งต่อถึงลูกน้อยได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

การเก็บรักษานมแม่

อุปกรณ์ การเก็บรักษานมแม่ ที่เหมาะสม

ก่อนจะกล่าวถึงขั้นตอนการเก็บรักษานมแม่ อย่างปลอดภัยและเหมาะสมนั้น ผู้ที่ต้องการ stock นมแม่จะต้องทำการจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้ครบก่อน โดยควรใส่ใจในเรื่องของ ความสะอาดและปลอดเชื้อ ไว้ให้มากที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะปนเปื้อนไปในอุปกรณ์ได้ ซึ่งผลกระทบจากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดนั้นจะส่งผลถึงทารกโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพอนามัยและโรคภัยต่าง ๆ ที่จะตามมาได้อยู่เสมอ มาดูกันว่า อุปกรณ์เก็บน้ำนม ที่เหมาะสมนั้นมีอะไรกันบ้างนะ

  • เริ่มต้นกันที่เครื่องปั๊มนมที่มีความสามารถในการปั๊มน้ำนมออกจากเต้านมให้ได้ในปริมาณที่ต้องการ ซึ่งมีความง่ายมากกว่าการใช้มือบีบและอาจจะทำให้ผู้เป็นแม่มีอาการระคายเคืองและเจ็บเต้านมได้ง่าย โดยเครื่องปั๊มนมในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายประเภททั้งแบบไฟฟ้า แบบที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ หรือแบบปั๊มมือธรรมดาที่มีราคาไม่แพงมากนัก
  • ภาชนะสำหรับการเก็บรักษานมนั้นสามารถใช้ถุงเพื่อสต๊อกน้ำนมหรือใช้เป็นขวดพลาสติกเลยก็ได้ แต่ควรใส่ใจในเรื่องของความสะอาดเป็นสำคัญ ซึ่งควรฆ่าเชื้อหลังการใช้งานทุก ๆ ครั้งจะทำให้น้ำนมที่ได้ไม่เน่าเสีย
  • เข้าสู่วิธีการที่จะทำให้นมแม่อยู่ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น โดยในกรณีที่คุณแม่อาศัยอยู่ที่บ้านอาจจะใช้ตู้เย็นสำหรับแช่นมเป็นกรณีพิเศษก็ได้ แต่ในกรณีที่จำเป็นจะต้องไปทำธุระนอกบ้านอาจจะใช้เป็นกระติกรักษาความเย็นเพื่อให้นมไม่โดนความร้อนซึ่งจะทำให้บูดได้ง่ายนั่นเอง

วิธีการเก็บรักษานมแม่ อย่างง่ายใคร ๆ ก็ทำได้

  • เมื่อคุณแม่ทำการปั๊มนมเข้าสู่ภาชนะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นควรนำภาชนะที่บรรจุน้ำนมเข้าสู่วิธีการเก็บรักษานม โดยอาจจะเลือกใช้การเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่แข็งซึ่งการเก็บรักษานมในแต่ละประเภทนั้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดยหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่เป็นตู้สำหรับเก็บน้ำนมไว้เป็นพิเศษจะอยู่ได้นานมากถึง 1 ปีเลยทีเดียว
  • เมื่อถึงเวลาที่จะนำน้ำนมออกมาใช้งานนั้น ควรนำภาชนะเก็บน้ำนมที่ต้องการออกมาไว้ในช่องปกติเพื่อให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและมีความเหลวในปริมาณที่พอเหมาะ จากนั้นจึงนำไปแช่ในน้ำอุ่นเพื่อให้ลูกน้อยสามารถทานได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ข้อห้ามที่สำคัญในข้อนี้คือห้ามละลายน้ำแข็งด้วยอุณหภูมิที่สูงจนเกินไปเพราะจะทำให้สารอาหารสำคัญรวมไปถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำนมขาดหายไปได้อย่างน่าเสียดาย
การเก็บรักษานมแม่

วิธีการสังเกตนมแม่ที่ผิดปกติหรือไม่ได้รับการเก็บรักษานมแม่ อย่างถูกวิธี

ในการเก็บรักษาน้ำนมอย่างถูกวิธีนั้น ผู้เก็บรักษาควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสังเกตกลิ่นสีและลักษณะความข้นของน้ำนมอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดื่มนมเสียต่อทารกได้ โดยวิธีการจัดการและสังเกตนมแม่ที่เหมาะสมต่อคุณแม่มือใหม่มีให้ศึกษาง่าย ๆ ดังนี้

  • สำหรับผู้ที่เพิ่งปั๊มน้ำนมและไม่ได้เก็บรักษาไว้ในช่องแช่เย็นหรือตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ คงจะสงสัยอยู่บ้างว่าน้ำนมที่เพิ่งออกมาไม่กี่นาทีนั้นจะสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ เพราะกลัวว่าจะมีเชื้อโรคหรือทำให้เด็กท้องเสียได้ซึ่ง นมแม่ที่เพิ่งปั๊มออกมานั้น จะสามารถอยู่ในอุณหภูมิปกติได้นานถึง 1 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นควรนำไปเก็บในตู้แช่เย็นให้คงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อไปในเวลาที่รวดเร็วที่สุด
  • สำหรับนมแม่ที่นำออกจากช่องแช่แข็งและถูกละลายน้ำแข็งไปแล้ว คุณสามารถนำกลับไปแช่เย็นได้ใหม่แต่จะมีอายุการเก็บรักษาหลังจากนั้นเพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการนี้เราไม่ค่อยแนะนำให้ทำสักเท่าไหร่ เพราะโดยปกติแล้วนมที่ถูกแช่แข็งและละลายเป็นของเหลวไปแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่ใหม่อีกครั้งในทุก ๆ กรณี
  • สำหรับคนขี้ลืมในการเก็บนมแม่เมื่อนำออกจากช่องแช่แข็งและลืมเก็บจนน้ำแข็งละลาย ควรตัดความรู้สึกเสียดายของออกไปให้หมดสิ้น เพราะการนำเอานมที่ถูกลืมมาให้ลูกน้อยทานอาจจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพของทารกได้
  • สำหรับการเก็บรักษานมแม่ ในบางกรณีอาจจะมีกลิ่นหืนขึ้นมาได้ ซึ่งนั่นไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ โดยยังสามารถนำไปให้ทารกดื่มต่อได้ แต่หากคุณแม่ไม่สบายใจในสุขภาพของลูกน้อย ก็สามารถนำน้ำนมถุงใหม่มาให้ลูกดื่มแทนได้
  • ภายหลังการเก็บนมแม่แล้วพบว่ามีกลิ่นรุนแรงมากกว่าปกติ รวมถึงลักษณะของของเหลวรวมตัวกันข้นมากกว่าเดิม อีกทั้งยังมีรสเปรี้ยวตามมา ขอให้คุณแม่ท่านนั้นสันนิษฐานเอาไว้เลยว่าการเก็บรักษานมในครั้งนี้ล้มเหลวและไม่ควรนำไปให้ลูกน้อยรับประทานในทุก ๆ กรณีอย่างเด็ดขาด

สรุป

นี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ การเก็บรักษานมแม่ ที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่มือใหม่อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการปั๊มนม ตลอดจนภาชนะต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาใช้ในการเก็บรักษาซึ่งจะทำให้ลูกน้อยของท่านได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์รวมถึงทำให้น้ำนมที่เก็บรักษาเอาไว้นั้นจะยังคงคุณค่าเอาไว้นานเกือบปีเลยทีเดียว

https://www.mommyliciousjuice.com/breastfeeding/storing-breastmilk/

credit by: เว็บตรง UFABET , สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ , Ufabet เว็บหลัก ufabet