แม้ว่าการที่เด็กคนหนึ่งพึ่งเกิดมา ไม่สามารถตัดสินอนาคตได้ก็จริง แต่ก่อนที่เขาจะเดินทางเข้าสู่สังคมภายใต้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จะต้องอาศัยการปรับตัว และ การแนะนำ ที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ ถือเป็น การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นวันนี้เหล่าพ่อแม่ไปดูพร้อม ๆ กันว่าแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างและจะต้องทำอย่างไร
รู้แล้วลองปรับ แนวทาง การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
สมองของทารก ไม่เพียงประกอบไปด้วยพันธุกรรม อาหารการกินของผู้เป็นแม่ ที่เลือกสรรทานเพื่อบำรุงลูกในครรภ์เท่านั้น สิ่งแวดล้อมเองก็มีผลต่อความรู้สึกการเจริญเติบโตของสมองไม่น้อยเช่นกัน ที่สำคัญผู้เป็นแม่จะเป็นผู้กระตุ้นพัฒนาการต่าง ๆ ซึ่งตั้งแต่ในครรภ์สมองนั้นเริ่มก่อตัวตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นในระหว่างตั้งท้อง ควรเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ อย่างเช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน กรดโฟเลต กรดไขมัน อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรรู้ไว้เลยว่าในช่วง3 ปีแรกสมองจะไวต่อการเรียนรู้ จำง่าย แต่หลังจากนั้นช่วง 5 ปี พัฒนาการจะลดลง แต่อย่าพึ่งกังวลไปเพราะจะมีพัฒนาการที่เชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองและในอายุ 12-15 ปี ขนาดของสมองจะมีขนาดเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว เมื่อทราบแบบนี้แล้วพ่อแม่ควรเร่ง การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยด่วนด้วยแนวทางดังนี้
ทารกแรกเกิดกับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
ในช่วงนี้พ่อแม่จะต้องให้ความรักมาก ๆ ด้วยการกอด อุ้ม เพราะจะช่วยให้อาการร้องไห้งอแงดีขึ้น ถือเป็นการให้ความอบอุ่น และ รู้สึกเชื่อมั่นปลอดภัย มากขึ้นยิ่งเมื่อได้สบตากับพ่อแม่ ไม่เพียงเท่านี้หากมีกิจกรรมร่วมกันควรแสดงสีหน้าท่าทางชัดเจนอย่าง พูดคุย ยิ้ม ทำสีหน้า ปากจู๋หรือจะเป็นการร้องเพลงระหว่างให้นมจะเป็นตักระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณืได้ดีทีเดียว ที่สำคัญอย่าลืมที่จะแสดงความดีใจและชมเชย เมื่อลูกสามารถตอบสนองได้ถือเป็น การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
ทารกแรกเกิดไปจนถึง 4 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
สิ่งแรก อยากให้แม่ลืมเลยคือเรื่องลูกติดมือ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพ่อแม่ไม่รู้จักสังเกตพฤติกรรมความต้องการของลูก เพราะในวัยแรกเกิดที่พึ่งออกมาจากท้องต้องการความรัก เมื่อคุณทำเช่นนี้จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดี แต่เมื่อเขาสามารถเดินเองได้หรือช่วงวัยหัดเดิน ไม่ควรอุ้ม ควรบอกและให้กำลังใจลูกว่าโตแล้วสามารถเดินเองได้ หากทำได้เด็กจะปรับตัวและไม่ติดมือแม่อย่างแน่นอน เว้นแต่อุ้มตลอดเวลาแม้ในยามเดินได้และการส่งเสริมพัฒนาการด้วยการหาของเล่นสีสันสดใสมาเล่น เพื่อให้ลูกมองดูตามหรือให้มองสิ่งรอบ ๆ ตัวด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น นั้นถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าเขามีการโต้ตอบและเป็น พัฒนาการตามวัยต่างๆ
เด็ก 8-12 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
ในช่วงนี้ เด็กจะเริ่มมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง โดยพ่อแม่จะสามารถสั่งเกตว่าขณะที่ลูกนอนคว่ำจะเริ่มยกศีรษะ หากเขายังไม่สามารถทำได้พ่อแม่จะต้องพยายามฝึกเขาควบคู่ไปด้วย อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้เด็กรู้จักคว้าจับสิ่งของและหัดให้เล่นของเล่นแบบเขย่าแบบมีเสียงดัง ยอย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญจะต้องพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อให้เขารู้จักตอบโต้ เหล่านี้ถือเป็น การส่งเสริมพัฒนาการ ที่ดีทีเดียว
เด็กวัย 12-16 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
ทำเช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ และท่านอนหงายให้หัดตะแคงตัว ท่านอนคว่ำหัดยกหัวและอกให้พ้นพื้นโดยเอาแขนยัน ให้มองลูกปัดเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า และพยายามเอื้อมจับ หัดเอามือทั้ง 2 ข้างมาประสานกัน พูดคุย ร้องเพลงเล่น ส่งเสียงโต้ตอบกับเด็ก
เด็กวัย 16 -20 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
ทำเช่นเดียวกับก่อนหน้านี้และชี้ชวนให้มองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหว ให้เด็กจับ mobile ให้เคลื่อนไหวไปมา ให้เด็กลากของเล็กๆที่ผูกเชือกไว้เข้าหาตัว ให้เด็กหัดพลิกคว่ำหรือหงาย ร้องเพลง พูดคุย ทักทายเด็กด้วยชื่อของเขา หัดให้เด็กหยิบจับสิ่งของขนาดต่างๆ กัน
เด็กวัย 20-28 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
บอกเลยว่าช่วงเวลานี้คุณอาจจะโดนผู้ใหญ่หรือคุณปู่คุณย่าตำหนิได้กับการที่เอากระจกให้ลูกเล่น เพราะโบราณมักจะเชื่อว่า หากเด็กส่องจะฟันไม่เกิด แต่ในทางกลับกันช่วงเวลานี้ถือว่าเหมาะทีเดียว เพราะเขาจะเริ่มสนใจ เกิดความสงสัยและส่งยิ้มให้ตัวเอง อย่างไรก็ตามควรอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ด้วย เพราะกระจกเมื่อตกแตกถือว่าเป็นอันตรายมากทีเดียว นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการอื่น ๆ ที่พ่อแม่จะส่งเสริมได้คือการพูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ กระตุ้นการมองด้วยทำให้ของตกหรือหากิจกรรมที่สร้างเสียงหัวเราะคือการนำผ้าคลุมแล้วให้หาของ ถือเป็นกิจกรรมที่สนุกและเรียกเสียงหัวเราะได้ดีทีเดียว
เด็กวัย 28-36 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
เมื่อผ่านมาถึงระยะนี้เด็กจะสามารถนั่งได้แล้ว โดยจะต้องได้รับการฝึกจากพ่อแม่ ในเวลาเดียวกันเขาก็สามารถคลานได้แล้ว เพียงแต่จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วเท่าไหร่นัก ในส่วนของกิจกรรมการชวนเล่นจ๊ะเอ๋ หัดให้หยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ แน่นอนว่าเมื่อเขาสามารถทำได้เด็กอาจจะแอบเอาของเข้าปาก แน่นอนพ่อแม่เองจะต้องคอยระวังด้วยการไม่เอาของที่อาจจะติดคอวางไว้กล้มือ นอกจากนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นการสื่อสารเวลาพูดจะต้องใช้เสียงต่ำ เสียงสูง อย่างไรก็ตามเพื่อให้ผลดีพ่อแม่ควรพูดช้า ๆ ชัดเจนและบ่อย ๆ จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กมองปากและนำไปสู่การพูดเป็นคำ
เด็กวัย 36 -44 สัปดาห์กับแนวทางกระตุ้นพัฒนาการ
ถือเป็นช่วงที่พัฒนาการต่อเนื่อง เพราะพ่อแม่จะต้องกระตุ้นให้ลูกหัดหยิบจับของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้บ่อย ๆ จนคล่อง จากนั้นกล้ามเนื้อมือจะแข็งแรงขึ้นจนสามารถดื่มน้ำจากแก้วด้วยสองมือได้ หยิบอาหารเข้าปากหรือกินข้าวเองได้ดีขึ้น ไม่เพียงเท่านี้การสอนให้ลูกได้รู้จักอวัยวะบนใบหน้าด้วยการทำท่าทางให้เด็กเลียนแบบ เช่น ทำปากจู๋ ทำตาหยี จับใบหู ที่สำคัญควรหัดให้ปล่อยของเมื่อขอเป็นสิ่งที่ควรฝึกบ่อย ๆ เพื่อให้เขาตอบโต้ นอกจากนี้การฝึกให้โอกาสหยิบจับดินสอขีดเขียนถือว่าทำได้แล้วเช่นกัน
สรุป
ทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับพ่อแม่ที่กำลังมีลูกไม่ว่าวัยใดก็ตาม เพราะแต่ละช่วงมีพฤติกรรมต่างกัน ที่สำคัญสำหรับ การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ควรพูดคุยด้วยความชัดเจน ช้า ๆ จะทำให้ให้ลูกเรียนรู้นำไปสู่การพูดคุยได้ไวขึ้นและทั้งหมดนี้เป็น การส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี หากพ่อแม่สังเกตเชื่อว่าลูกน้อยจะเป็นเด็กที่ฉลาดและปรับตัวได้ดีอย่างแน่นอน ufabet
http://www.mamaexpert.com/posts/content-228
https://th.mamypoko.com/th/mamatips/tipformom39.html
credit by : paraquor.com , avangelistdesign.com , bakrimusa.com